การตั้งศาลพระภูมิ
เลือกตำแหน่งที่ตั้งศาลพระภูมิ
แฟนเพจหลายท่านได้สอบถามมาถึงเรื่องการตั้งศาลพระภูมิ ซึ่งที่มาของเรื่องศาลพระภูมินี้ ผสมผสานกันระหว่างศาสต์ด้านศาสนา พิธีกรรม และความเชื่อ ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งมุ่งเน้นไปทางด้านการนับถือเทพเจ้า แม้ประเทศไทยเราจะนับถือศาสนาพุทธ แต่อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ก็เป็นไปอย่างแพร่หลาย
ภาพประกอบ : ป้าจาย
เนื้อหา : บ้านไอเดีย
ก่อนอื่นต้องขอเรียนให้ผู้ที่ต้องการจะตั้งศาลพระภูมิให้ทราบกันว่า หากเป็นไปตามคำสอนของศาสนาพุทธนั้น ไม่จำเป็นต้องตั้งก็ได้หรือกล่าวได้ว่า ศาสนาพุทธไม่ได้สอนเรื่องการนับถือเทพเจ้าแต่อย่างใด แต่หากต้องการทำตามขนบธรรมเนียม ตามพิธีกรรมที่ชาวไทยพุทธได้สืบทอดกันมาเนิ่นนาน ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิด แต่จะผิดหากตั้งแล้ว ไม่รู้ข้อเท็จจริง และไม่ดูแลให้ดี ปล่อยให้ศาลพระภูมิกลายเป็นเพียงเสาปูนที่ไร้ค่า หากเป็นเช่นนั้น ไม่ตั้งศาลพระภูมิซะเลย ย่อมดีกว่า สำหรับวันนี้ “บ้านไอเดีย” ขอนำข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตำแหน่งที่ตั้งศาลพระภูมิให้ถูกต้อง ดังนี้
- ตำแหน่งของศาลพระภูมิ ต้องไม่ถูกบดบังจากแสงเงาของตัวบ้าน
- ตำแหน่งของศาลพระภูมิ ควรอยู่ห่างจากห้องน้ำ ห้องส้วม รวมถึงไม่ควรหันหน้าเข้าหาที่ตั้งของห้องน้ำ
- หากตั้งศาลพระภูมิใกล้รั้ว หรือกำแพงบ้าน ควรเว้นให้มีระยะห่างอย่างน้อยประมาณ 1 เมตร
- ที่ตั้งของศาลควรอยู่บนบริเวณพื้นดิน ไม่อยู่ในระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าระดับพื้นบ้าน หรืออาจทำแท่นฐานวางให้ยกสูงจากพื้นดิน ก็ยิ่งดี แต่หากไม่มีพื้นดิน สามารถตั้งบนดาดฟ้าได้
- ตำแหน่งของศาลพระภูมิ ไม่ควรตั้งให้หันหน้าตรงกับประตูหน้าบ้าน
- ระดับความสูงของศาล ควรให้สูงอยู่เหนือระดับสายตาของผู้เป็นเจ้าของบ้านพอประมาณ และไม่ควรให้ต่ำกว่าระดับสายตา
ตำแหน่งในการตั้งศาลพระภูมิ เป็นเพียงขั้นตอนพื้นฐานในการตั้งศาลพระภูมิ ยังมีข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นต้องศึกษาให้ถูกต้อง และขอเน้นย้ำกันอีกครั้งนะครับ ศาลพระภูมิ หากคิดจะตั้งแล้ว ก็ควรศึกษาข้อมูล ดูแลให้ถูกต้อง เป็นไปตามพิธีกรรมที่ได้สืบทอดกันมา หากตั้งแล้วไม่ดูแลให้ดี ปล่อยให้ศาลดูรก สกปรก การไม่ตั้งเลยตั้งแต่แรกเริ่ม ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่า ติดตามอ่านต่อในบทความถัดไป ที่เว็บไซต์ บ้านไอเดียนะครับ
บทความโดย © : banidea.com ที่มาbanidea.com http://vhproperty.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น